ออกแบบบรรจุภัณฑ์สวย ด้วยทฤษฏีสัดส่วนทองคำ 

ออกแบบบรรจุภัณฑ์

ออกแบบบรรจุภัณฑ์สวย ด้วยทฤษฏีสัดส่วนทองคำ

ออกแบบบรรจุภัณฑ์ นั้นไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ารู้หลักการของการออกแบบ ซี่งในแวดวงนักออกแบบหลายๆแขนง คงไม่มีใครไม่รู้จักทฤษฏีสัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) อย่างแน่นอน ไม่เพียงแต่วงการออกแบบแต่ทั้ง วงการศิลปะในทุกๆแขนง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพ, งานจิตรกรรม, งานประติมากรรม หรือ งานสถาปัตยกรรมต่าง ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกันสัดส่วนทองคำกันแทบทั้งนั้น ซึ่งวันนี้ Thaiprintshop จะมาทำความรู้จักกับ Golden Ratio ที่นักออกแบบทั่วโลกนั้นนิยมใช้เป็น Grid Line ในการสร้างสรรค์ผลงานระดับโลกออกานักต่อนักกัน

สัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) คืออะไร

สัดส่วนทองคำมีที่มาจากทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ โดยเป็นวิธีการคำนวณเพื่อหาสัดส่วนที่งดงามที่สุดในโลก เป็นสูตรคำนวณที่คิดค้นขึ้นโดย ลีโอนาโด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี โดยเขาพยายามใช้ตัวเลขมาอธิบายความงามของสิ่งต่าง ในธรรมชาติ

หลักการของสัดส่วนทองคำ คือส่วนของเส้นที่ถูกแบ่งตรงตำแหน่งที่ก่อให้เกิดอัตราส่วนทอง (golden ratio)” หลักการของสัดส่วนทองคำ (golden section) คือส่วนของเส้นที่ถูกแบ่งตรงตำแหน่งที่ก่อให้เกิดอัตราส่วนทอง (golden ratio)” : อัตราส่วนของความยาวรวม a + b ต่อความยาวส่วนที่ยาว a มีค่าเท่ากับความยาวส่วนที่ยาว a ต่อความยาวของส่วนที่สั้น b. และผลลัพธ์จากตัวเลขที่นักคณิตคนนี้คำนวนอย่างวุ่นวายนั้น มันบอกเราอย่างง่ายๆได้ว่า สัดส่วนที่เยี่ยมยอดที่สุดคือ 1 : 1.618

มาที่ไปของมันจะดูงงๆและเป็นเชิงคณิตศาสตร์มีแต่สมการอะไร ที่ไม่คุ้นเคยสำหรับนักออกแบบที่ส่วนใหญ่ใช้แต่สุนทรียะอย่างเราๆจะเข้าใจ จะรู้มากรู้น้อยก็ไม่สำคัญ เพราะทฤษฏีมีใว้เพื่อทำความเข้าใจแต่การลงมือทำเพื่อต่อยอดความเข้าใจไปสู่ผลสำเร็จที่เราตั้งใว้ต่างหากที่สำคัญกว่า

ความพิเศษของสี่เหลี่ยมทองคำ

แต่ที่จริงแล้ว สัดส่วนทองคำนี้มันมีวิธีการประยุกต์จากสูตรนี้ออกไปได้อีกมากมายและหลายรูปแบบ เช่น รูปสามเหลี่ยมที่เป็นสัดส่วนทองคำ รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีด้านเท่าสองข้างเท่ากัน และสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำที่มีอัตราส่วนด้านยาวต่อด้านสั้นเท่ากับอัตราส่วนทองคำนั่นเอง แต่ความพิเศษของสี่เหลี่ยมทองคำ ก็คือ ถ้าเราแบ่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส และส่วนที่สองเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก็จะพบว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันเล็ก ที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังคงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำอยู่เช่นเดียวกัน และเมื่อแบ่งสี่เหลี่ยมผืนนั้นอีก ก็จะเกิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ ขึ้นมาใหม่ด้วยวิธีการเดียวกันอีก และจะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อย ซ้ำไปซ้ำมาอย่างไม่รู้จบ

 

การใช้สัดส่วนทองคำในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์

การนำสัดส่วนทองคำไปใช้ในการออกแบบบบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ก็ไม่ได้ยุ่งยากที่คิด เพียงแค่นำ Template Grid ( .EPS / .PSD )ไปวางไว้บนสุด Layer ของ Artwork ที่เราทำอยู่ แล้วจะกลับซ้าย กลับขวา หมุนไปหมุนมา   ยืดเข้าออก หรืออะไรก็ตามแต่ เพื่อให้เราเห็นเส้นแบ่ง column ที่เราชอบ โดยหลักการสำคัญคือการใช้ประโยชน์ของเส้น Grid เพื่อกำหนด Space และ Alignment ของกราฟิกต่าง ให้สมดุล ซึ่งส่วนใหญ่เราก็มักวางเอาไว้ในจุดเริ่มต้นของเส้นลายก้นหอยที่จะม้วนออกมาแบบไม่มีที่สิ้นสุด ในการออกแบบ Logo ของแบรนด์ดังต่าง ก็ล้วนแต่ใช้ สัดส่วนทองทำ ด้วยกันทั้งนั้น เพราะว่าสัดส่วนทองคำจะทำให้โลโก้ดูมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์แบบ สามารถใช้งานไปได้อย่างยาวนาน


ตัวอย่างสัดส่วนทองรอบๆตัว

หากได้ลองสังเกตสิ่งรอบๆตัว ยกตัวอย่างเช่น อัตราส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของวงขดเกลียวของเมล็ดดอกทานตะวันแต่ละวงเทียบกับวงถัดไป ในร่างกายมนุษย์ เช่น ระยะจากหัวถึงพื้นหารด้วยระยะจากสะดือถึงพื้น ระยะจากไหล่ถึงปลายนิ้วมือหารด้วยระยะจากข้อศอกถึงปลายนิ้วมือ หรือระยะจากสะโพกถึงพื้นหารด้วยระยะจากหัวเข่าถึงพื้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสัดส่วนทองคำรวมไปถึง ดอกไม้ สัตว์ ใบหน้ามนุษย์ งานศิลปะ หรือ สถาปัตยกรรมดัง ก็ล้วนแต่แฝงไปด้วย สัดส่วนทองทำ (Golden Ratio) ด้วยกันทั้งนั้น

เราสามารถใช้สัดส่วนทองคำในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้เช่นกัน หรือแม้แต่ในในงานออกแบบเว็ปไซต์และหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆก็ยังมีสัดส่วนทองคำแฝงอยู่ด้วยตลอด พูดง่ายๆว่า สัดส่วนทองคำนั้นมีอยู่ทุกที่จริงๆ

 

สัดส่วนทองคำนี้แม้จะไม่ได้ช่วยให้ดีไซน์กล่องหรือแผ่นพับ, ใบปลิว ของคุณสวยขึ้นทันตาเห็น อันนี้จริงการออกแบบก็ต้องพึ่งหลักการทางความสวยงามหลายองค์ประกอบ เพื่อจะสร้างงานออกแบบซักชิ้นที่สามารถดึงความสนใจของผู้คนจนมองเห็นความงามของมันได้ แต่ถ้าจะเริ่ม Design จากความว่างเปล่าอย่างน้อยเรามีทางเลือกในการตั้งต้นที่ดีเพื่อสานต่องานได้ดีขึ้นช่วยประหยัดเวลาให้เราได้ ก็จะเป็นประโยชน์มหาศาล สำหรับนักออกแบบ ทฤษฎีสัดส่วนทองคำเป็นอะไรที่ต้องศึกษากันโดยค่อนข้างละเอียดลึกซึ้งเพราะสัดส่วนทองคำจะช่วยทำให้งานของคุณออกมาดูดี สมบูรณ์แบบ และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน ตราบใดที่ทฤษฎีสัดส่วนทองคำนั้นยังไม่หายไปค่ะ