เคล็ดลับที่ต้องรู้ก่อนพิมพ์งานอิงค์เจ็ท เพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์แบบ
การพิมพ์งานอิงค์เจ็ท เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะสามารถให้ภาพที่คมชัด สีสันสดใส และพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลากหลาย
ในงานของโรงพิมพ์ สำหรับลูกค้าที่ต้องการสั่งงานพิมพ์สักชิ้น หากลูกค้ามีไฟล์งานสำเร็จรูป ที่พร้อมสำหรับขั้นตอนในการผลิต แต่ดันโดยโรงพิมพ์บอกกลับมาว่า ไฟล์ที่เราบันทึกมานั้นมีความละเอียดที่น้อยเกินไป หรือมีความละเอียดไม่เพียงพอกับประเภทของงานที่ต้องการพิมพ์ เนื่องจาก ความละเอียดของภาพ หรือความละเอียดของไฟล์งานต่างๆ มีความละเเอียดไม่ถึง 300 DPI ซึ่งโดยส่วนมากแล้วลูกค้าทั่วไปอาจจะไม่ทราบถึงเรื่องนี้ เพราะเป็นส่วนที่ต้องมีความรู้เฉพาะด้านจริงๆ ถึงจะเข้าใจ
สำหรับอาชีพกราฟิก หรือนักออกแบบ ในส่วนของการทำงาน การสร้างสรรค์ชิ้นงานให้ออกมาแต่ละครั้งนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อม ในเรื่องข้อมูล และการวางแผนเพื่อสำหรับการจัดวางรูปแบบของงาน และหนึ่งในขั้นตอนนี้จะมีส่วนสำคัญที่กราฟิกนักออกแบบต้องใส่ใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก นั่นก็คือการตั้งค่า “DPI” ที่จะเป็นตัวกำหนดขนาดของไฟล์เพื่อนำไปใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการ
ซึ่งการตั้งค่า DPI ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานส่วนอื่นๆ อีกหลายประเภทเลยทีเดียว ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ค่า DPI กันว่าคืออะไร และต้องใช้ขนาดเท่าไร ถึงจะเหมาะกับงานในแต่ละประเภท รวมไปถึงการตรวจสอบขนาดของไฟล์
“DPI” ย่อมาจาก dots per inch คือจำนวนของหน่วยวัดค่าที่จะบอกถึงพื้นที่อยู่ใน 1 ตารางนิ้ว ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดในแต่ละช่องนั้นจะมีค่าสีต่อช่องกี่จำนวนนั้นเอง หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ Pixel นั่นเอง ซึ่งการบอกค่าจำนวนของ DPI นั้นจะขึ้นอยู่กับตัวเลข หรืออธิบายง่ายๆก็คือ ยกตัวอย่างเช่นใน 1 ตารางนิ้วเราตั้งค่า DPI ให้อยู่ที่ 300 หน่วย ซึ่งก็จะมีเม็ดของ Pixel เป็นหน่วยรวมอยู่ด้วย
รู้หรือไม่? 300 dpi เท่ากับกี่ pixel
ผลที่จะแสดงออกมาเป็น กว้าง x ยาว คือ 1 ตารางนิ้วจะเท่ากับ 300×300 นั้นก็หมายความว่าเราจะได้ค่าสีออกมาอยู่ที่ 90,000 สี อยู่ในพื้นที่ที่เรากำหนด หากมองดูแล้วอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วหน่วยวัดชนิดนี้มีความสำคัญกับงานออกแบบกราฟิกอย่างไร คำตอบคือ ค่าของ DPI นั้นจะเป็นตัวกำหนดความคมชัด ของงานได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เวลาที่เราต้องการเอารูปเข้ามาประกอบในงานจะต้องดูความละเอียดของภาพเป็นอันดับแรก ซึ่งขนาดของแต่ละภาพก็จะมีเท่ากัน อย่างเช่น 400×400 / 600×500 / 1200×1200 และในส่วนนี้ยิ่งมีค่า DPI สูงคุณภาพของรูปที่นำมาก็จะยิ่งมีความชัดเพิ่มขึ้นไปตามค่าที่ได้นั่นเอง
จากที่ได้เกริ่นไปในหัวข้อข้างต้น ขนาดของไฟล์ DPI จะมีความสำคัญอย่างมากเพื่อนำไปใช้ในงานพิมพ์ เนื่องจากการพิมพ์งานออกมาในแต่ละครั้ง ชิ้นงานที่ได้ออกมาจะต้องมีความสวยงาม และสมบูรณ์แบบมากที่ เพราะการสั่งผลิตต้องมีต้นทุน ฉะนั้นแล้วหากงานออกมาไม่ดีและไม่ได้คุณภาพ ก็จะทำให้ผลงานชิ้นนั้นเสียหายได้เช่นกัน ซึ่งในส่วนของค่า DPI สำหรับเพื่อนำมาใช้ในงานพิมพ์
โดยส่วนมากแล้วจะต้องมีการตั้งค่าอยู่ที่ 300×300 เป็นอย่างต่ำ เนื่องจาก หากเรามีการตั้งค่าสีให้ต่ำกว่า300 x 300 นั้นก็จะทำให้มีค่าสีที่ไม่พอสำหรับการออกแบบ และนั้นก็จะส่งผลไปถึงภาพที่แสดงออกมา โดยเราจะดูได้จากขอบของภาพนั้นจะเป็นเหมือนกับรูปตัวการ์ตูน Pixel ที่เป็นขอบจะไม่มีความมนกลม แต่จะเป็นเหลี่ยมๆ เป็นชั้นซ่อนๆ กันปรากฏออกมาให้เราได้เห็น
แต่สำหรับงานกราฟิกที่ต้องนำออกมาผลิตจะต้องมีขนาดของไฟล์อยู่ที่ 720×720 เป็นอย่างน้อย และไม่ควรเกิน1200×1200 เป็นอย่างมาก เนื่องจากไฟล์ขนาดนี้เมื่อสั่งพิมพ์ออกมาแล้ว รูปภาพ และลายเส้นของงานจะไม่เกิดการแตก หรือมีขอบเป็นเม็ด Pixel ให้เราได้เห็นนั้นเอง แต่การตั้งค่าไฟล์ DPI ให้มีขนาดต่ำ หรือสูงจนเกินไปก็จะมีข้อเสียอยู่เหมือนกัน อาทิเช่น หากต้องการงานพิมพ์ขนาดเล็กอย่าง แผ่นพับ โปสเตอร์ ใบปลิว ก็อาจจะใช้ไฟล์ DPI ขนาด 720×720 – 980×980 เป็นต้น
หรือเป็นงานพิมพ์ขนาดใหญ่อย่าง ป้ายบิลบอร์ด หรือป้ายไฟอาจจะต้องใช้ไฟล์ที่มีขนาด 1200×1200 ขึ้นไป เพื่อความคมชัดของานที่ผลิตออกมานั่นเอง ในกรณีนี้หากเป็นงานพิมพ์ชิ้นใหญ่ไม่ควรมีค่า DPI น้อยจนเกินไป เพราะจะทำให้เมื่อขนาดไฟล์งานในขั้นตอนของการพิมพ์แล้วจะทำให้ภาพที่ออกมาไม่ชัด และภาพแตกได้
หากต้องการตรวจสอบ ปรับ DPI และขนาดไฟล์ในโปรแกรมแก้ไขรูปภาพ อาจต้องใช้โปรแกรม เช่น adobe illustrator , Adobe Photoshop หรือ GIMP เพื่อให้สามารถปรับ DPI และขนาดไฟล์ได้ ดังนั้นแล้วคุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ ได้ดังนี้
โดยการเพิ่ม DPI จะเพิ่มขนาดไฟล์ และการลด DPI จะลดขนาดไฟล์ แนะนำให้รักษา DPI ไว้ที่ 300 หรือสูงกว่าเพื่อให้งานที่ออกมาดีที่สุด แต่ควรคำนึงถึงความสามารถของเครื่องพิมพ์ และข้อกำหนดเฉพาะก่อนที่จะส่งไฟล์ด้วย
DPI คือหน่วยวัดความละเอียดของเครื่องพิมพ์ DPI ที่สูงขึ้น หมายความว่าเครื่องพิมพ์สามารถสร้างภาพที่พิมพ์ได้ละเอียด และแม่นยำมากขึ้น DPI ส่งผลต่อคุณภาพของงานพิมพ์ และขนาดของไฟล์ที่ต้องส่งไปยังเครื่องพิมพ์ แต่ในทางกลับกัน ขนาดไฟล์ หมายถึงจำนวนข้อมูลในไฟล์ดิจิทัล เช่น เอกสาร หรือรูปภาพ ยิ่งขนาดไฟล์ใหญ่ขึ้น
เครื่องพิมพ์ก็ยิ่งต้องประมวลผลข้อมูลมากขึ้นเท่านั้น และจะใช้เวลานานขึ้นในการพิมพ์เอกสารหรือรูปภาพออกมา และเมื่อ DPI สูง ภาพจะมีรายละเอียดแต่ขนาดไฟล์จะใหญ่ขึ้น เมื่อ DPI ต่ำ ขนาดไฟล์จะเล็กลง แต่ภาพจะไม่ละเอียดเท่า ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของโรงพิมพ์ หรือผู้ใช้งานว่าต้องการภาพ หรืองานที่มีรายละเอียดหรือขนาดไฟล์เป็นแบบไหนนั่นเอง
การแก้ไขปัญหาการพิมพ์ที่เกิดจาก DPI และขนาดไฟล์ไม่ถูกต้องอาจเป็นงานที่น่าหงุดหงิด แต่มีขั้นตอนอยู่สองสามขั้นตอนที่สามารถทำได้เพื่อแก้ไขปัญหา เช่น
1.ให้ตรวจสอบ DPI และขนาดไฟล์ของภาพที่คุณกำลังพยายามพิมพ์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า DPI เป็นอย่างน้อย 300 และขนาดไฟล์อยู่ภายในข้อจำกัดของเครื่องพิมพ์ของคุณ หาก DPI หรือขนาดไฟล์ต่ำหรือสูงเกินไป ให้ปรับให้เหมาะสมโดยใช้โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ เช่น adobe illustrator , Adobe Photoshop หรือ GIMP
2.ตรวจสอบการตั้งค่าของเครื่องพิมพ์ ให้แน่ใจว่าได้ตั้งค่าเครื่องพิมพ์เป็นขนาดกระดาษที่ถูกต้อง และตั้งค่าความละเอียดเป็นค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ และตั้งค่าสี ว่าสีได้รับการปรับอย่างถูกต้อง
3.หากทำตามขั้นตอน 1-2 แล้ว ปัญหายังคงอยู่ให้ลองพิมพ์หน้าทดสอบจากเมนูการตั้งค่าของเครื่องพิมพ์ วิธีนี้จะช่วยคุณระบุว่าปัญหาอยู่ที่เครื่องพิมพ์ หรือที่ภาพ
4.หากหน้าทดสอบพิมพ์ถูกต้องแต่รูปภาพยังมีปัญหาอยู่ ให้ลองแปลงรูปภาพเป็นรูปแบบไฟล์อื่น เช่น PDF หรือ TIFF บางครั้ง รูปแบบไฟล์ที่แตกต่างกันอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์
5.หากปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข ให้ลองอัพเดทไดรเวอร์ และโปรแกรมของเครื่องพิมพ์ เพราะไดรเวอร์และโปรแกรมที่ล้าสมัยอาจทำให้เกิดปัญหาในการพิมพ์ได้นั่นเอง