การพิมพ์บัตรพลาสติก PVC ออฟเซ็ต vs ดิจิทัล แบบไหนดี?
ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึง การพิมพ์แบบออฟเซ็ต และ การพิมพ์แบบดิจิทัล ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และแบบไหนที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด
การดราฟท์ (Draft) คือการคัดลอก ลอกแบบ หรือร่างแบบให้ออกมาเหมือนกับงานต้นฉบับมากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะทำในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Photoshop ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว และได้ผลลัพธ์งานที่มีคุณภาพสูง
สำหรับในส่วนไฟล์งานสแกน จะต่างกับ งาน Draft ค่อนข้างมาก เนื่องจากไฟล์งานสแกนนั้นจะสามารถทำได้ง่ายกว่า และไม่ต้องลงรายละเอียดเยอะ เพราะที่ไฟล์สแกนมานั้นจะได้รายละเอียดครบตามงานต้นแบบ
ซึ่งงานทั้ง 2 ประเภทนี้สำหรับงานของโรงพิมพ์แล้ว ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะลูกค้าที่ต้องการสั่งผลิตแพคเกจจิ้งนั้นจะต้องมีไอเดียของแพคเกจมาเป็นต้นแบบเอาไว้ให้ทางโรงพิมพ์ได้ดูเป็นตัวอย่าง Ref หรือไปเป็นแม่แบบ เพื่อทำการออกแบบมาให้เหมือนตามแบบที่ลูกค้าต้องการ
จากที่ได้เกริ่นไปข้างต้นสำหรับการ Draft และไฟล์งานสแกนนั้น ในส่วนงานของโรงพิมพ์ หนึ่งในปัญหาที่ลูกค้าจะพบเจอมากที่สุด และส่วนมากจะไม่เข้าใจนั่นก็คือ มีงานต้นฉบับแล้ว อยากให้โรงพิมพ์ลอกแบบมาให้เหมือนกัน แต่สำหรับในความเป็นจริง โรงพิมพ์จะสามารถถอดจากงานต้นแบบได้เพียงแค่ 70-90% จากการ Draft ที่ลูกค้ามีต้นแบบมาให้ แต่สำหรับงานสแกน จะได้รายละเอียดของงานออกมาเหมือนกับต้นฉบับอยู่ที่ 100% แต่สีหรือความคมชัดของภาพอาจจะดรอปลง10%-15% หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับไฟล์ต้นฉบับ
ฉะนั้นในวันนี้เราจะพาลูกค้าที่น่ารักทุกท่านมารู้จักกับเงื่อนไขในการสั่งผลิตงาน Draft และการสั่งผลิตงานจากไฟล์สแกน ว่าต้องมีการเตรียมอะไรบ้างให้กับโรงพิมพ์
เริ่มต้นกันด้วยงาน Draft สำหรับลูกค้าที่น่ารักทุกท่านขั้นตอนแรกๆ ในการสั่งผลิตกับโรงพิมพ์นั้นก็จะต้องมีแบบของแพคเกจจิ้งหรือต้นแบบเพื่อเอาไว้สำหรับให้ทางโรงพิมพ์ได้ทำการคัดลอกจากต้นแบบที่ลูกค้าให้มา ซึ่งทางโรงพิมพ์จะนำเอาต้นแบบที่ได้มานั้นไปทำการ Draft จากรูปที่ได้มาโดยทางแผนกกราฟิกจะต้องเก็บรายละเอียดทีละขั้นตอน อย่างเช่น ถอดแบบขนาด ลายเส้น หรือลักษณะของแพคเกจ
และที่สำคัญ หากลูกค้าไม่มีไฟล์โลโก้ รูปภาพประกอบ ก็จะยิ่งทำให้งานมีความยากมากขึ้นไปอีก เนื่องจากงาน Draft โดยส่วนมากแล้วจะไม่สามารถทำออกมาให้เหมือนกับงานต้นฉบับได้อย่าง 100% เพราะรูปภาพบางชิ้นหรือฟอนต์บางตัวอาจจะติดลิขสิทธิ์ได้นั้นเอง แต่หากลูกค้ามีไฟล์ต้นฉบับของโลโก้หรือรูปภาพประกอบมาด้วยก็จะทำให้งานผลิตสามารถออกมาให้เหมือนต้นแบบได้ดียิ่งขึ้น
ต่อกันด้วยการคัดลอกผ่านไฟล์งานสแกน ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นงานที่ง่ายกว่าประเภท Draft เนื่องจากไฟล์ที่ผ่านการสแกนมาแล้วจะมีรายละเอียดมาให้อย่างครบถ้วน ทางโรงพิมพ์จะได้ไม่ต้องทำการ Draft ทีละสัดส่วน ไฟล์งานสแกนที่ลูกค้านำมาให้โรงพิมพ์นั้นจะสามารถรู้ได้ถึงขนาด โลโก้ ตัวหนังสือ เพราะไฟล์ที่ได้มานั้นจะเป็นรูปภาพ หรือไม่ก็เป็นไฟล์ PDF จึงสามารถนำไปถอดแบบเพื่อเตรียมเข้ากระบวนการดีไซน์ของแพคเกจจิ้งต่อไปได้ในทันที
และไฟล์งานที่สแกนมานั้น จะต้องสแกนจากเครื่องปริ้นที่ได้คุณภาพ เพราะจะต้องเก็บรายละเอียดของแพคเกจจิ้งต้นแบบมาให้ได้มากที่สุดนั้นเอง ฉะนั้นแล้วคุณลูกค้าที่น่ารักทุกท่าน หากอยากให้การสั่งผลิตงานแพคเกจจิ้งให้ออกมาดีและเหมือนกับแพคเกจต้นฉบับที่คาดหวังเอาไว้ควรจะนำเอาไฟล์งานแบบสแกนแนบมาให้กับทางโรงพิมพ์เพื่อความสะดวกและการเก็บรายละเอียดที่ดีและเนียนมากที่สุด
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรงพิมพ์จะยอมรับรูปแบบไฟล์ที่หลากหลายสำหรับการพิมพ์ แต่รูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด ได้แก่