การพิมพ์บัตรพลาสติก PVC ออฟเซ็ต vs ดิจิทัล แบบไหนดี?
ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึง การพิมพ์แบบออฟเซ็ต และ การพิมพ์แบบดิจิทัล ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และแบบไหนที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด
งานพิมพ์ งานผลิต ที่เราคุ้นเคยกันนั้นถือเป็นสื่อสิ่งพิมพ์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาไปใช้เพื่อการ โฆษณา โปรโมท ประชาสัมพันธ์ ที่เราพบเห็นได้ทั่วไปใช้เป็นสื่อในทางการเรียนการศึกษาหรือใช้เป็นการค้า ทำการตลาดเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจซึ่งในจุดนี้จะถูกผลิตออกมาในรูปแบบของแพคเกจจิ้งบรรจุภัณฑ์ โดยส่วนมากแล้วจะถูกนำเสนอเป็นแพคเกจประเภท กล่องกระดาษ กล่องจั่วปัง ถุงกระดาษ ซองฟอยล์ ซองอะลูมิเนียม ขวดพลาสติก ขวดแก้ว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าแพคเกจจิ้งเหล่านี้คือสิ่งที่เราทุกคนพบเห็นและของเหล่านี้อยู่ทุกๆวันจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว
จากที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่าแพคเกจจิ้งนั้นอยู่ในส่วนหนึ่งของชีวิตเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งทั้งหมดนี้ก็อยู่ในส่วนของผู้บริโภค แต่สำหรับในส่วนของผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ นอกจากจะต้องมีสินค้าที่ดีและได้คุณภาพแล้ว การทำให้แพคเกจจิ้งบรรจุภัณฑ์ที่ใส่สินค้านั้นมีความสวยงาม เพื่อสามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจได้นั้นจะต้องมีการแข่งขันในเรื่องของการออกแบบดีไซน์ให้แพคเกจจิ้งของเรามีความโดดเด่นมากกว่าผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง อาจจะต้องใช้ลูกเล่นที่มากกว่าความสวยงามในการออกแบบและวันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคพิเศษดีๆที่จะช่วยให้แพคเกจจิ้งบรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจได้มีตัวเลือกให้แพคเกจของท่านดูดีมีสไตล์ในแบบที่ไม่เหมือนใคร
เริ่มต้นกันด้วยอุปกรณ์เสริมอย่าง ฟอยล์ (Foil) ซึ่งวัสดุชนิดนี้สามารถนำไปใช้เป็นไอเทมเสริมให้แพคเกจจิ้งดูหรูหรามากขึ้น โดยฟอยล์นั้นจะมีสีให้เลือกนำมาใช้อยู่มากมายประมาณ 10 กว่าสีขึ้นไป อาทิเช่น เงิน, ทอง, โรสโกลด์, เงินเลเซอร์, ทองด้าน, ทองแดง, ดำ, น้ำเงิน, เขียว โดยสีทั้งหมดนี้สามารถนำไปเพิ่มความสวยงามให้กับแพคเกจจิ้งโดยการนำไปใช้ด้วยกัน การปั๊ม ทั้งนูน จม เค และยังมีเทคนิคพิเศษอีกหลายแบบให้บรรดาผู้ประกอบการได้เลือกดังนี้
ปั๊มเค คือการนำเอาฟอยล์แต่ละสี มากดทับลงไปบนแพคเกจจิ้ง เพื่อให้เกิดเป็นลวดลายที่ดูโดดเด่นขึ้นมา โดยส่วนมากแล้วจะนิยมใช้สี ทอง เงิน เพราะทั้งสองสีนี้จะให้ความรู้สึกที่หรูหรามากขึ้น นิยมใช้กับงานพิมพ์ประเภท การ์ดงานเชิญต่างๆ นามบัตร กล่องบรรจุภัณฑ์ โปสเตอร์ โปสต์การ์ด เป็นต้น
ปั๊มนูน คือการเพิ่มความสวยงามของแพคเกจจิ้งด้วยการนำเอาแพคเกจไปกดกับแม่พิมพ์ เพื่อให้เกิดเป็นมิติที่นูนขึ้นมาจากพื้นผิว โดยส่วนมากแล้วจะนิยมอยู่ 2 แบบ คือปั๊มนูนจากพื้นผิวของวัสดุ และปั๊มนูนด้วยการใช้ฟอยล์เข้ามาเพิ่ม เทคนิคนี้จะเหมาะกับงานพิมพ์ประเภท โลโก้บนแพคเกจจิ้ง นามบัตร ปกหนังสือ กล่อง เป็นต้น
ปั๊มจม เป็นงานพิมพ์เทคนิคพิเศษที่จะมีความคล้ายคลึงกับการปั๊มนูน แต่จะมีกระบวนการผลิตที่กลับด้านกัน ซึ่งงานที่ออกมาพื้นผิวของแพคเกจจิ้งจะจมลงไปเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะของรูปแบบตามที่ต้องการ แน่นอนว่าสามารถนำไปใช้ได้ทั้ง 2 รูปแบบกับปั๊มนูน และเหมาะกับสิ่งพิมพ์อย่างๆ โลโก้บนแพคเกจจิ้ง นามบัตร ปกหนังสือ กล่อง เป็นต้น
สปอตยูวี เป็นเทคนิคที่ใช้วิธีการเคลือบ โดยต้องนำเอาแผ่นฟิล์มมาทาบลงไปยังแพคเกจจิ้ง และใช้แสงยูวีเพื่อทำให้แผ่นฟิล์มนาบติดไปกับตัวแพคเกจ และยังสามารถทำได้หลายขนาดในแบบ เฉพาะจุด หรือทั้งตัวแพคเกจ ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้กับ กล่อง ซองกระดาษ เป็นต้น
ป๊อปอัพ คือเทคนิคการออกแบบ กล่องแพคเกจจิ้งให้มีลักษณะพิเศษ เมื่อพับกล่อง หรือตั้งกล่องแล้ว จะมีส่วนพิเศษที่ยื่นออกมา หรือตั้งเป็นจุดเด่นขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วเทคนิคแบบนี้จะนิยมใช้กับสิ่งพิมพ์ประเภท กล่องกระดาษทั่วไป ซอง เป็นต้น
ปิดท้ายกันด้วยเทคนิคพิเศษที่เป็นการ เจาะแพคเกจจิ้งให้เป็นรู เพื่อเป็นการนำเสนอสินค้าที่ถูกบรรจุลงไป ซึ่งโดยทั่วไปที่เราพบเห็นนั้นจะเป็นการเจาะรูและมีพลาสติกกัดเอาไว้ แต่ในปัจจุบันจะนิยมเจาะรูให้สามารถเห็นสินค้า และจับต้องได้ ซึ่งเทคนิคชนิดนี้จะนิยมใช้กับแพคเกจจิ้งประเภท กล่องบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก