โฆษณาเครื่องสำอาง เกินจริงเสี่ยงผิดกฎหมาย

รู้หรือไม่ !! โฆษณาเครื่องสำอางเกินจริงเสี่ยงผิดกฎหมาย

ในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตง่ายดาย ทำให้โลกออนไลน์เป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว หลายสินค้าจึงเลือกโฆษณาเกินจริงเพื่อดึงดูดลูกค้า แม้จะเน้นกำไรมากกว่าความจริงใจต่อลูกค้า ผลที่ตามมาคือความเสียหายและการฟ้องร้องต่างๆ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาเครื่องสำอางที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เช่น การช่วยให้ผิวขาว ขยายขนาดทรวงอก ป้องกันผมหลุดร่วง ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เสียเงินฟรีและเสี่ยงต่อการได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีการลักลอบใส่สารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย

ได้ดำเนินการตรวจสอบและเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) ได้พบการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในสื่อต่าง ๆ มากมาย เช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และโดยเฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ต 

ซึ่งมีการอวดอ้างสรรพคุณของเครื่องสำอางบำรุงผิว เช่น

“ช่วยให้ผิวขาวทันใจ หน้าใสทันตา เปลี่ยนจากผิวดำเป็นผิวขาว เห็นผล 100%” และ “ช่วยปรับผิวขาวเร่งด่วนได้ใน 2 สัปดาห์ เห็นผลจริง พิสูจน์เลย”

นอกจากนี้ ยังมีการโฆษณาเครื่องสำอางบำรุงผิวทรวงอกอีกด้วย เช่น

 “ใช้แล้วช่วยขยายทรวงอกให้ทรวงอกอวบอิ่ม”

เครื่องสำอางบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น 

“ป้องกันผมหลุดร่วง กระตุ้นการสร้างเส้นผมใหม่” 

ข้อความโฆษณาเหล่านี้เป็นข้อความที่โอ้อวดเกินจริง และก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีจุดประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายได้

หากผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอางมีการโฆษณาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 โดยมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนสื่อโฆษณาหรือผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาจะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หากพบการกระทำความผิดซ้ำ จะถูกส่งดำเนินคดีทางศาล

และมีช่องทางในการโฆษณาเครื่องสำอางเพิ่มขึ้น เช่น การขายเครื่องสำอางทางทีวีดาวเทียม และผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุค อินสตาแกรม ทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงได้ง่าย มีการโฆษณาที่อ้างว่าเป็นรีวิวของผู้ใช้ว่าใช้ได้ผลดี ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด 

ผลิตครีมมีเงินเพียงแค่หลักร้อยก็เป็นเจ้าของแบรนด์ได้

ผลิตครีมมีเงินเพียงแค่หลักร้อยก็เป็นเจ้าของแบรนด์ได้

ในทุกวันนี้ครีมต่างๆก็ได้โฆษณาที่เกินจริงเป็นอย่างมาก เดี๋ยวนี้มีเงินเพียงแค่หลักร้อยหลักพันก็สามารถที่จะเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ แถมครีมที่นำมาขายก็ยังเป็นครีมที่ไม่ดีและไม่มีคุณภาพ บางยี่ห้อก็จ้างโรงงานผลิต อ้างสรรพคุณต่างๆ เช่น ครีมทาแล้วหน้าขาว ลดสิว ไร้ริ้วรอย ครีมที่ไม่ได้มาตรฐานจะมีส่วนผสมของปรอทหน้าขาว ส่งผลทำให้หน้าของเราพังยับเยินได้

สำหรับคนที่เป็นเจ้าของครีมหรือชอบรีวิวครีม ถ้าโฆษณาเกินจริงหรือพูดโกหก มันก็เสี่ยงที่จะผิดกฎหมายได้เหมือนกัน

ฉะนั้น ในการขายของให้กับลูกค้าเราควรที่จะเน้นความจริงใจจะดีกว่า เพื่อที่จะได้สบายใจในทุกๆ ฝ่าย

คำรีวิวหรือคำโฆษณาเกินจริง

ในทุกวันนี้ที่เราเห็นอยู่ตามโลกออนไลน์ จริงๆ แล้วมันก็เป็นคำที่เกินจริง หลอกลวงผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ที่ห้ามใช้ ฉะนั้น เราในฐานะที่เป็นลูกค้าเราก็จะต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ อย่างรอบคอบอีกครั้ง ไม่ว่าจะเลือกซื้อครีมยี่ห้ออะไรก็ตาม ในการอ่านรีวิว ก็ควรที่จะใช้สติในการพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจที่จะเลือกซื้อ

สำหรับใครที่กำลังจะเขียนรีวิวหรือรับทำโฆษณาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางค์ก็ไม่ควรที่จะอธิบายขยายผลที่มันเกินจริงไป ไม่งั้นมันอาจจะส่งผลกระทบกับเราโดยตรงได้ บางทีก็อาจจะมีความเสี่ยงผิดกฎหมายทำให้เราได้รับคดีอาญาในประวัติไปเลย มันเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มเลยใช่ไหมละ สำหรับคนที่กำลังจะเขียนรีวิว เราจะต้องรู้ก่อนว่า เครื่องสำอางค์ มันไม่ได้เป็นสิ่งที่จะรักษา แต่ส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ก็มักจะอ้างสรรพคุณว่า “ใช้ตัวนี้สิวหายแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นสิวแบบไหนก็ตามรับประกันไม่พอใจยินดีคืนเงิน” ในการโฆษณาแบบนี้

ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อแล้วเลือกซื้อครีมมาใช้กัน ปรากฎว่าใช้แล้วไม่หาย แต่กลับมาขึ้นเยอะกว่าเดิม ซึ่งถ้าหากใครที่จะเลือกซื้อครีมตามโลกออนไลน์จะต้องศึกษาอย่างละเอียดและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก

ภาพจาก Pinterest ตัวอย่างแบรนด์แอบอ้างสรรพคุณเกินจริง

การโฆษณาที่เกินจริงมันผิดกฎหมายอย่างไรบ้าง ?

ในการที่โฆษณาเกินจริง นำเอามาเปรียบเทียบกับทางการแพทย์ไม่ได้ เพราะทางการแพทย์มันเห็นผลที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่า แต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มันเกินจริง มันไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรมาก แถมยังจะส่งผลเสียต่อผิวหน้าของเราอีก

ถ้าเราอยากจะมีผิวหน้าที่ดีและเปร่งปลั่งควรที่จะต้องดูแลจากภายในสู่ภายนอก วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าแน่นอน แต่ก็ยังมีหลายๆ แบรนด์และหลายยี่ห้อที่ยังโฆษณาเกินจริงอยู่ เช่น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ยี่ห้อนี้ก็จะช่วยเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในของร่างกาย ทำให้ผิวของเราขาวขึ้น แต่จริงๆ แล้วเราก็จะต้องดูพื้นฐานของสีผิวของเราก่อนไหม ถ้าหากเราดำ แล้วกินเข้าไป มันก็ไม่ได้ส่งผลอะไรที่ดีเลย มันไม่ได้ทำให้เราขาวขึ้นอย่างที่โฆษณาอย่างแน่นอน อย่าหวังเลยว่าผิวของเราจะขาว ต่อให้กินกลูต้าทั้งโรงงานชาตินี้ก็ไม่มีวันขาวอย่างแน่นอน

การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผิดๆ อยู่บ่อยๆ

อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา การที่กินยาขาว รับรองไตของเราก็จะทำงานหนัก และอาจจะทำให้เรามีปัญหาสุขภาพตามมาได้ ยุคนี้มันมีความรวดเร็ว สะดวก อย่างมากมายในการทำการตลาดหรือการทำโฆษณา มันก็สามารถที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างโดยตรงอีกทั้ง ผู้บริโภคเองจะต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วย ว่าการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์มันมีผลเสียอะไรบ้าง แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าหากสำนักงานอาหารและยาของประเทศไทยได้ตรวจเช็คอย่างเข้มงวด ก็จะให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้หมดไปอย่างแน่นอน ควรที่จะต้องใช้มาตรการหรือกฎหมายที่อย่างเข้มงวด เพราะผลกระทบมันส่งผลถึงผู้บริโภคโดยตรง ถึงแม้ว่าการโฆษณาที่เกินจริงจะผิดกฎหมาย แต่หลายๆ แบรนด์ก็ยังมีการแอบกระทำผิดอยู่บ้าง ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบกันอย่างมากมาย

คำโฆษณาเกินจริงในโลกออนไลน์

การโฆษณาเกินจริงที่พบในโลกออนไลน์มักเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค เช่น การอ้างว่าครีมสามารถรักษาสิวหายขาดหรือทำให้ผิวขาวในเวลาอันสั้น การกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมายและอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้นผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า

ผลของการโฆษณาเกินจริงต่อผิวหน้า

การใช้ผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินจริงอาจไม่สามารถแก้ปัญหาผิวได้จริง แถมยังส่งผลเสียต่อผิวหน้าด้วย การดูแลผิวควรเริ่มจากภายในสู่ภายนอกเพื่อความปลอดภัย

การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง

การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมบ่อยๆ อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น การกินยาขาวอาจทำให้ไตทำงานหนัก เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว ผู้บริโภคควรพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาเกินจริง

กสทช. ห้ามการออกอากาศที่มีเนื้อหาจูงใจโดยหลอกลวงหรือทำให้เข้าใจผิด

อย. ห้ามการโฆษณาเครื่องสำอางที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือข้อความที่เกินความจริง

คำโฆษณาเกินจริง

  • ลดการอักเสบของผิวหนัง
  • ช่วยลดสิวฝ้าในทันที
  • เพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น
  • ทำให้ผิวกลับมาเต่งตึง
  • สวยเพรียว

ตัวอย่างโฆษณาเกินจริง

  • ครีมบำรุงผิว ใช้แล้วขาวขึ้นใน 7 วัน
  • โทนเนอร์ ใช้รักษาฝ้า สิวภายใน 3 วัน
  • แป้งฝุ่น คุมความมันของใบหน้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • สบู่สมุนไพร ลดผดผื่นภายใน 5 วัน

ดังนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ควรซื้อจากร้านที่เชื่อถือได้ และอ่านฉลากให้ถี่ถ้วน ตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก และชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า แม้จะเป็นเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศก็ควรมีฉลากภาษาไทย และสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้งผ่านเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือ Oryor Smart Application หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง หรือพบการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail: [email protected] หรือผ่าน Oryor Smart Application

สรุป

การเป็นแบรนด์สินค้าที่ดีควรมอบความจริงใจให้กับลูกค้าควรที่จะโฆษณาที่ไม่เกินจริงเวอร์วังจนเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นมันอาจจะทำให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้เช่นกัน

ที่มา :
เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์
เว็บไซต์ bcp.nbtc.go.th

ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์สวยๆ ตอบสนองต่อธุรกิจ สู่ระดับสากล

เริ่มต้นกับ Thaiprintshop : ไม่มีขั้นต่ำสั่งผลิต